การถกเถียงครั้งใหญ่คุณแม่ผ่าคลอดอยู่ไฟได้ไหม? การคลอดลูกแบบธรรมชาติก็อยู่ไฟได้อยู่แล้ว แล้วคุณแม่ที่ผ่าคลอดสามารถอยู่ไฟได้ไหม? และมีสิ่งที่ควรระวังของการอยู่ไฟมีอะไรบ้าง?
การอยู่ไฟหลังคลอดคืออะไร
เป็นวิธีการดูแลสุขภาพของคุณแม่ในช่วงอยู่ไฟหลังคลอดบุตร และโดยเฉพาะ ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากการคลอดบุตร ความร้อนสามารถใช้เพื่อคลายกล้ามเนื้อ เอ็นหลังและขา และลดอาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดจากการกดทับขณะตั้งครรภ์ มาดูขั้นตอนการอยู่ไฟว่ามีอะไรบ้าง
ขั้นตอนการอยู่ไฟของคุณแม่หลังคลอด
- การใช้ลูกประคบสมุนไพร ประคบร้อนที่มีสมุนไพรหลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน ตะไคร้ ใบส้มป่อย การบูร ประคบตามลำตัวและหน้าอกเพื่อลดอาการปวดเมื่อย
- ต้มสมุนไพรอาบน้ำร้อน ประกอบด้วย ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด ใบมะขาม ใบส้มป่อย สมุนไพรซึมซาบเข้าสู่ผิวเพื่อฟื้นฟูผิวหนังให้ดูสดชื่นและมีความกระปรี้กระเปร่า
- การทับหม้อเกลือ เป็นการนำเกลือเม็ดใส่หม้อดินตั้งไฟจนเกลือสุก แล้วห่อด้วยใบพลับและผ้า จากนั้นนำมาประคบบนร่างกายเนื่องจากความร้อนจากหม้อเกลือช่วยเปิดรูขุมขนให้สมุนไพรซึมผ่านผิวหนัง เป็นการชะล้างของเสียออกจากรูขุมขน
- อบตัวด้วยสมุนไพรแบบนั่งในกระโจม เพื่อเปิดรูขุมขนและกำจัดของเสีย
ตอบคำถามคุณแม่ผ่าคลอดกับการอยู่ไฟ
- คุณแม่ที่ผ่าคลอดอยู่ไฟได้ไหม
คำตอบ : แม่ผ่าคลอดอยู่ไฟได้ - ถ้าผ่าคลอดแล้ว จะอยู่ไฟได้ตอนไหน
คำตอบ : คุณแม่ต้องรอให้แผลผ่าตัดหาย ประมาณ 30-45 วัน และควรตรวจ หลังคลอดตามแพทย์นัดก่อน ดังนั้นก่อนการอยู่ไฟ คุณแม่ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าตัดเกิดการอักเสบขึ้นมาขณะที่อยู่ไฟหลังคลอด - มดลูกจะเข้าอู่เมื่อไร?
คำตอบ : มดลูกจะค่อย ๆ เล็กลงจนใกล้เคียงกับขนาดเดิมก่อนตั้งครรภ์ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์หลังคลอด
การอยู่ไฟมีประโยชน์อย่างไร
เป็นการฟื้นฟูร่างกายคุณแม่หลังผ่าคลอดบุตรทั้งการคลอดแบบธรรมชาติและการผ่าคลอด ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว น้ำคาวปลาไหลได้ดี เพื่อให้น้ำนมไหลสะดวก ไม่มีอาการหนาวสะท้าน เป็นการพักฟื้นเพื่อสะสมกำลังให้มีสุขภาพแข็งแรง
การอยู่ไฟก็มีห้ามเหมือนกัน
- คุณหลังคลอดที่มีไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียล
- คุณแม่หลังคลอดที่เป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหอบหืด โรคลมชัก โรคไต
- คุณแม่หลังคลอดที่มีการตกเลือด