น้ำหนักมากขณะตั้งครรภ์หรือเปล่าคะ?? เรื่องน้ำหนักตัวของคุณแม่ยามตั้งครรภ์ เป็นเรื่องที่สร้างความลำบากใจและเป็นกังวลสำหรับคุณแม่เป็นอย่างมาก บ้างก็กลัวว่าถ้ามัวแต่ห่วงเรื่องน้ำหนัก แล้วไม่ทานอะไรเลยลูกก็จะไม่แข็งแรง เลยถือเป็นโอกาสที่ดีในการอ้างที่จะรับประทานทุกอย่างเพื่อลูก Momandbabyth ก็เลยมีเกณฑ์ในการสังเกตน้ำหนักตัวของคุณแม่มาฝาก เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการดูแลตัวเอง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลแห่งความสุขอย่างนี้ อย่าถือโอกาสปาร์ติ้ซะจนลืมระวังเรื่องน้ำหนักนะคะ
โดยปกติแล้วน้ำหนักมากขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้น 3 – 5 กิโลกรัม ในไตรมาสแรก และจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อยที่สุด 7 กิโลกรัม และไม่เกิน 14.5 กิโลกรัมจากน้ำหนักตัวปกติก่อนตั้งครรภ์ในไตรมาส 2 แล้วก็จะเพิ่มขึ้นอีกในไตรมาสสุดท้ายอาทิตย์ละเกือบครึ่งกิโลกรัม
สัดส่วนของน้ำหนักมากขณะตั้งครรภ์แบ่งเป็น
- น้ำหนักตัวของทารก 3.5 – 4 กิโลกรัม
- น้ำคร่ำ 1 กิโลกรัม
- รก 0.6 – 1 กิโลกรัม
- เนื้อเยื่อเต้านม 0.6 – 1 กิโลกรัม
- ปริมาณเลือดในร่างกาย 1.5 กิโลกรัม
- กล้ามเนื้อมดลูก 1 – 1.2 กิโลกรัม
- น้ำ 2 กิโลกรัม
- น้ำหนักที่สะสมอยู่ในตัวคุณแม่ 4 กิโลกรัม
จำไว้นะคะว่า การลดน้ำหนัก เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาดในระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะจะมีผลกระทบอย่างมากต่อทารกในครรภ์ หากรู้สึกน้ำหนักขึ้นมาก การควบคุมอาหารเป็นคำตอบที่ดีที่สุดค่ะ การรับประทานอาหารคุณแม่ตั้งครรภ์ จะต้องคำนึงถึงสารอาหาร และพลังงานที่เพียงพอต่อ คน 2 คนค่ะ แต่ไม่ใช่ว่าคุณแม่จะกินอาหารเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่านะคะ แค่รับพลังงานเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 200 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน ก็เพียงพอแล้ว
เพราะฉะนั้นช่วงเทศกาลแห่งความสุขแบบนี้ อย่าเพลินจนลืมดูแลตัวเองนะคะ