ผ่าคลอด กินน้ำเย็นได้ไหม คำถามยอดฮิตของคุณแม่ทุกยุค

ผ่าคลอด-กินน้ำเย็นได้ไหม

การดูแลตนเองหลังคลอดเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับคุณแม่ลูกอ่อนทุกท่าน นอกจากการพักผ่อน ดูแลแผลเย็บ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การดื่มน้ำก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คุณแม่ต้องให้ความสนใจ แต่คุณแม่หลายท่านคงเคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่เตือนว่าหลังคลอดลูกห้ามดื่มน้ำเย็น เพราะจะไม่มีน้ำนมให้ลูก ความจริงแล้วจะเป็นอย่างไรกันแน่ ผ่าคลอด กินน้ำเย็นได้ไหม เรามาหาคำตอบกัน ผ่าคลอด กินน้ำเย็นได้ไหม เพราะเหตุใด? ความจริงตามหลักการแพทย์นั้นไม่มีข้อห้ามไม่ให้คุณแม่ดื่มน้ำเย็นหลังคลอดแต่อย่างใด เพราะเมื่อคนเราดื่มน้ำเข้าไป ร่างกายก็จะปรับอุณภูมิของน้ำให้เท่ากับภายในร่างกายอยู่ดี ดังนั้น คำถามที่ว่า ผ่าคลอด กินน้ำเย็นได้ไหม คำตอบคือ คุณแม่หลังคลอดจึงสามารถดื่มน้ำเย็นได้ตามปกติโดยไม่ต้องกังวลว่าเต้านมจะแข็ง อุดตัน หรือมีน้ำนมน้อย สำหรับความเชื่อเรื่องการห้ามดื่มน้ำเย็นหลังคลอดนั้นอาจเป็นเพราะในสมัยโบราณ น้ำไม่สะอาดจึงต้องมีการต้มให้สุกเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่หลังคลอดนั่นเอง แต่หากเปรียบเทียบระหว่างการดื่มน้ำเย็นและน้ำอุ่นแล้ว การดื่มน้ำอุ่นย่อมมีข้อดีมากกว่า เพราะน้ำอุ่นจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะและเซลล์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น อีกทั้งทำให้ร่างกายของคุณแม่ฟื้นฟูเร็วขึ้น และบรรเทาอาการหนาวในหลังคลอดได้เป็นอย่างดี ทานน้ำอุ่นช่วยกระตุ้นน้ำนมจริงไหม? อุณหภูมิของน้ำไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำนมแม่แต่อย่างใด สิ่งสำคัญคือการดื่มน้ำอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ รวมถึงการกระตุ้นการผลิตน้ำนมด้วยการให้ลูกดูดบ่อย ๆ หมั่นบีบระบายน้ำนม นวดเต้านมเป็นประจำก็จะช่วยเพิ่มฮอร์โมนสร้างน้ำนม (โปรแลคติน) ทำให้มีน้ำนมเยอะ ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางท่านอาจรู้สึกว่าดื่มน้ำอุ่นแล้วน้ำนมไหลมากกว่าตอนดื่มน้ำเย็น ซึ่งก็เป็นเพราะการดื่มน้ำอุ่นจะช่วยให้ร่างกายของคุณแม่ผ่อนคลายจนหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) ออกมาและกระตุ้นการหลั่งของน้ำนม เมื่อบีบนมแล้วรู้สึกว่าได้น้ำนมมากจนทำให้คุณแม่รู้สึกว่าน้ำนมไหลได้ดีกว่านั่นเอง ซึ่งเพียงแค่คุณแม่รู้จักผ่อนคลายก็สามารถกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนออกซิโตซินได้โดยไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำอุ่นแต่อย่างใด […]

ผ่าคลอดกี่เดือนท้องใหม่ได้ ถึงจะปลอดภัยต่อทั้งคุณแม่และคุณลูก

ผ่าคลอดกี่เดือนท้องใหม่ได้

การผ่าตัดคลอดเป็นวิธีการคลอดทารกทางหน้าท้องและช่องคลอด ทำให้เกิดแผลเป็นขนาดใหญ่และใช้เวลานานในการรักษาหลังคลอด หลายคนสงสัยว่าจะมีเพศสัมพันธ์กับแฟนได้เมื่อไหร่และผ่าคลอดกี่เดือนท้องใหม่ได้อีกเมื่อไหร่ ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการ ตั้งครรภ์คุณแม่ผ่าคลอดกี่เดือนท้องใหม่ได้ ระยะหลังคลอดสำหรับการตั้งครรภ์ใหม่ ๆ ที่เหมาะสมคือตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ช่วงเวลานี้จะคล้ายกับผู้ที่ผ่าคลอดกี่เดือนท้องใหม่ได้อีกครั้งร่างกายของคุณสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ แต่ทุกคนแตกต่างกัน ดังนั้นคุณแม่ที่ต้องการมีบุตรมากควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำจะดีที่สุด ในช่วงเวลานี้ร่างกายจะพยายามรักษาตัวเอง นอกจากการเติมสารอาหารที่สูญเสียไปและการผลิตน้ำนมแม่แล้ว การตั้งครรภ์ใหม่เร็ว ๆ นี้อาจทำให้ร่างกายทำงานหนักเกินไปและเป็นอันตรายต่อแม่และลูกได้ ตัวอย่างเช่น คุณอาจเป็นโรคโลหิตจางหลังคลอดบุตร ในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดจากการผ่าตัดคลอด เลือดและธาตุเหล็กจำนวนมากจะสูญเสียไประหว่างการคลอดและการขนส่งไปยังรกจะสูญเสียเลืดมากกว่าการคลอดธรรมชาติ สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการคลอดทั้งแบบธรรมชาติและผ่าคลอด หลังคลอด คุณแม่จะเหนื่อยและปวดเมื่อย เช่น ปวดหลัง ปวดหัวนม ปวดฝีเย็บ การเลี้ยงลูกไม่กี่สัปดาห์อาจทำให้ครอบครัวเครียดได้ เพราะพ่อแม่มือใหม่ต้องปรับตัวกับการเป็นพ่อแม่ใหม่ ความเครียดเหล่านี้มักส่งผลต่อชีวิต คุณไม่สามารถกลับไปทำกิจกรรมประจำวันตามปกติได้เหมือนเดิม ในช่วงเวลานี้อาจใช้เวลาสักครู่ขึ้นอยู่กับตารางกิจกรรมของคุณ การเข้าใกล้ทางเข้าระหว่างการส่งมอบครั้งแรกอาจทำให้เกิดความเครียดได้ แต่เมื่อทุกอย่างเริ่มลงตัว คุณก็จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ ลูกคนที่สองที่เกิดหลังจากลูกคนแรกเกิดไม่นานอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้ เช่น มดลูกแตกและคลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักของทารกต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ช่วงเวลาหลังคลอดควรใช้เพื่อการพักผ่อนและการพักผ่อนหย่อนใจ ร่างกายที่แข็งแรงไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณมีเวลาดูแลลูกน้อยแรกเกิดของคุณ แต่ยังส่งผลดีต่อทารกในครรภ์ของคุณ ดังนั้นคุณจึงสามารถกลับมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิมได้เสมอ สำหรับผู้หญิงบางคน การตั้งครรภ์อีกครั้งภายใน 18 เดือนหลังคลอดไม่ใช่ปัญหา ความเสี่ยงของปัญหาการตั้งครรภ์จะลดลงหากคุณตั้งครรภ์หลังจากคลอดลูกคนแรกได้ไม่นาน […]

ผ่าคลอดอยู่ไฟได้ไหม คำถามสุดฮิตของคุณแม่ผ่าคลอด

ผ่าคลอดอยู่ไฟได้ไหม

การถกเถียงครั้งใหญ่คุณแม่ผ่าคลอดอยู่ไฟได้ไหม? การคลอดลูกแบบธรรมชาติก็อยู่ไฟได้อยู่แล้ว แล้วคุณแม่ที่ผ่าคลอดสามารถอยู่ไฟได้ไหม? และมีสิ่งที่ควรระวังของการอยู่ไฟมีอะไรบ้าง? การอยู่ไฟหลังคลอดคืออะไร เป็นวิธีการดูแลสุขภาพของคุณแม่ในช่วงอยู่ไฟหลังคลอดบุตร และโดยเฉพาะ ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากการคลอดบุตร ความร้อนสามารถใช้เพื่อคลายกล้ามเนื้อ เอ็นหลังและขา และลดอาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดจากการกดทับขณะตั้งครรภ์ มาดูขั้นตอนการอยู่ไฟว่ามีอะไรบ้าง ขั้นตอนการอยู่ไฟของคุณแม่หลังคลอด การใช้ลูกประคบสมุนไพร ประคบร้อนที่มีสมุนไพรหลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน ตะไคร้ ใบส้มป่อย การบูร ประคบตามลำตัวและหน้าอกเพื่อลดอาการปวดเมื่อย ต้มสมุนไพรอาบน้ำร้อน ประกอบด้วย ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด ใบมะขาม ใบส้มป่อย สมุนไพรซึมซาบเข้าสู่ผิวเพื่อฟื้นฟูผิวหนังให้ดูสดชื่นและมีความกระปรี้กระเปร่า การทับหม้อเกลือ เป็นการนำเกลือเม็ดใส่หม้อดินตั้งไฟจนเกลือสุก แล้วห่อด้วยใบพลับและผ้า จากนั้นนำมาประคบบนร่างกายเนื่องจากความร้อนจากหม้อเกลือช่วยเปิดรูขุมขนให้สมุนไพรซึมผ่านผิวหนัง เป็นการชะล้างของเสียออกจากรูขุมขน อบตัวด้วยสมุนไพรแบบนั่งในกระโจม เพื่อเปิดรูขุมขนและกำจัดของเสีย ตอบคำถามคุณแม่ผ่าคลอดกับการอยู่ไฟ คุณแม่ที่ผ่าคลอดอยู่ไฟได้ไหม คำตอบ : แม่ผ่าคลอดอยู่ไฟได้ ถ้าผ่าคลอดแล้ว จะอยู่ไฟได้ตอนไหน คำตอบ : คุณแม่ต้องรอให้แผลผ่าตัดหาย ประมาณ 30-45 วัน และควรตรวจ หลังคลอดตามแพทย์นัดก่อน ดังนั้นก่อนการอยู่ไฟ คุณแม่ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าตัดเกิดการอักเสบขึ้นมาขณะที่อยู่ไฟหลังคลอด มดลูกจะเข้าอู่เมื่อไร? […]

แผลผ่าคลอดปริ เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่หลังผ่าคลอดต้องดูแลแผลอย่างไร

แผลผ่าคลอดปริ

คุณแม่ที่เพิ่งผ่าคลอดอาจมีปัญหาเรื่องแผลผ่าคลอดปริ เป็นจากการติดเชื้อ เนื้อตาย และการดูแลแผลไม่ดี แผลอาจได้รับผลกระทบหรือเกิดจากสภาวะสุขภาพที่ส่งผลต่อการหายของบาดแผล อาจทำให้เกิดความเจ็บปวด เลือดออกมาก มีไข้สูง และมีหนอง ไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น แผลผ่าคลอดปริ มีสาเหตุจากอะไรบ้าง สาเหตุที่แผลผ่าคลอดปริมีได้หลายสาเหตุ มาดูกันว่าเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง การดูแลรักษาแผลผ่าคลอดไม่ดี การดูแลบาดแผลช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม การดูแลบาดแผลและสภาวะทางสุขภาพที่ไม่ดี เช่น โรคเบาหวานและโรคอ้วน อาจส่งผลต่อการหายของแผลในบางคน แผลผ่าคลอดถูกกระทบกระเทือน หลังจากผ่าคลอด คุณแม่ควรพักฟื้น พักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลตัวเอง อย่าให้มีอะไรไปกดหรือทับที่แผลผ่าคลอดมากเกินไปในช่องท้อง เช่น การอุ้มเด็กหนัก การยกของหนัก การลุกจากท่านั่งยอง ๆ การเริ่มออกกำลังกายเร็วเกินไปเพื่อให้แผลเปิดและเกิดปัญหาแผลฉีกขาด การติดเชื้อ แผลที่ติดเชื้ออาจทำให้กระบวนการสมานแผลช้าลงหรือทำให้เนื้อเยื่อตายจนถึงจุดที่แผลไม่สามารถรักษาได้ ในบางกรณี ประเภทของการผ่าตัดคลอดอาจเป็นปัจจัยหนึ่งด้วย การผ่าตัดคลอดแบ่งออกได้เป็นสองประเภท ผ่าตัดแนวตั้ง คือ แนวแผลจากใต้สะดือไปจนถึงไรขนอวัยวะเพศ ผ่าตัดแนวนอน คือ แนวแผลตามขวางบริเวณเหนือไรขนอวัยวะเพศ อาจมีความเสี่ยงเล็กน้อยของการตัดด้วยการผ่าตัดคลอดในแนวนอน ดูแลรักษาง่าย ซึ่งจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น จะรู้ได้อย่างไรว่าแผลผ่าคลอดปริ หากคุณสังเกตเห็นสัญญาณของการแผลผ่าคลอดปริ ให้ไปพบแพทย์ทันที มีไข้สูง มีเลือดออกบริเวณแผลและช่องคลอด อาการปวดรุนแรง รอบแผลแดง หรือมีอาการบวมรอบแผล […]

วิธีดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด ทำหมัน ทำยังไงให้แผลผ่าคลอดสมานตัวได้เร็ว เมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้าน

วิธีดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด ทำหมัน

วิธีดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด ทำหมัน พักฟื้นตัวที่บ้านยังไงให้แผลผ่าตัดสมานตัวได้เร็ว เพราะหลังผ่าคลอดใหม่ ๆ คุณแม่อาจจะมีอาการปวดตามมา ตั้งแต่ตอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล คุณหมอจะดูแลควบคุมอาการปวดหลังจากผ่าตัด ซึ่งอาจต้องให้ยาแก้ปวดทางสายน้ำเกลือ คอยเฝ้าระวังการติดเชื้อของแผลผ่าตัด การเคลื่อนไหว รวมทั้งปริมาณน้ำที่ดื่ม และการทำงานของกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ หลังจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของคุณแม่ที่ต้อง ดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด กันแล้วล่ะ หลังผ่าคลอดกิจวัตรประจำวันของคุณแม่ทำอะไรได้บ้าง หลังจากผ่าคลอดทางหน้าท้อง คุณแม่ควรพลิกตัวบ่อย ๆ หรือขยับตัวบ่อยๆ เพื่อช่วยให้ลำไส้ฟื้นตัวเร็วขึ้นและลดอาการท้องอืด พยาบาลจะเข้ามาวัดความดันโลหิตทุกๆ 30 นาที ในระยะแรกหลังคลอด ถ้ารู้สึกเจ็บหรือปวดแผล ควรแจ้งพยาบาลเพื่อที่จะให้หมอสั่งยาลดปวด คุณแม่สามารถให้น้ำนมลูกได้เลยเมื่อคุณแม่พร้อม วันแรก หลังการผ่าตัด คุณแม่หลังคลอดควรเคลื่อนไหวหรือขยับตัวให้เร็วที่สุด เช่น นั่งหรือยืนข้างเตียง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการบวม หรือท้องอืด หากมีอาการมึนหัวควรนอนอยู่บนเตียง คุณแม่อาจจะเดินไปรอบๆ ห้อง และช่วยให้ลำไส้ได้เคลื่อนไหวและกลับมาทำงานตามปกติ ซึ่งช่วยให้แม่ฟื้นตัวเร็วขึ้น วันที่ 2 ตอนนี้คุณสามารถนั่งและยืนได้ด้วยตัวเอง แต่คุณอาจรู้สึกเจ็บอย่างรุนแรงที่บริเวณแผลผ่าตัด หากไอ ให้เอาหมอนหรือใช้มือกดที่แผล หายใจเข้าลึกๆ กลั้นหายใจ แล้วไอแรงๆหลายๆ ครั้งเพื่อกำจัดเสมหะ วิธีดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด ทำหมัน มาดูกันว่าทำอย่างไรได้บ้าง คุณแม่ควรพยายามลุกขึ้นเดิน […]

อาการกวนใจระหว่างตั้งครรภ์ พร้อมวิธีแก้ไข

อาการกวนใจระหว่างตั้งครรภ์ - momandbabyth

อาการกวนใจระหว่างตั้งครรภ์ ตลอดช่วงเวลา 9 เดือนของการตั้งครรภ์ คุณแม่หลายท่านต้องฝ่าฟันบททดสอบแห่งความยากลำบากมากมาย จากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเพื่อเตรียมตั้งครรภ์สำหรับชีวิตน้อยๆ ในครรภ์ อาการเหล่านี้แม้จะเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงก้าวแรกเริ่มของการทำหน้าที่ “แม่” ซึ่งจะต้องมีทั้งความอดทน และการเสียสละ ฉะนั้นการได้ล่วงรู้ถึงสาเหตุ และวิธีการดูแลตัวเอง ก็ทำให้ว่าที่คุณแม่คนใหม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ด้วยความรู้สึกปลาบปลื้ม และเป็นสุขใจขึ้นมาได้ อาการกวนใจระหว่างตั้งครรภ์แม่มือใหม่ มีดังนี้ ปัสสาวะบ่อย เป็นอาการปกติสำหรับคนท้องเดือนแรกๆ เพราะระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้นทำให้ปัสสาวะออกบ่อย เมื่อคุณตั้งครรภ์ผ่านพ้น 3 เดือนแรกไปแล้ว อาการนี้ก็จะหายไปได้เองและจะเป็นอีกครั้งในช่วง ท้ายของการตั้งครรภ์ เนื่องจากมดลูกที่ใหญ่ขึ้นจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ การแก้ไข หากคุณรู้สึกรำคาญที่ต้องลุกไปห้องน้ำบ่อยๆในตอนกลางคืนอาจดื่มน้ำให้น้อยลงในตอนเย็น ก็จะช่วยได้ที่สำคัญคือหากมีอาการแสบขัดร่วมด้วย คุณควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที จุกเสียด เกิดขึ้นเพราะกระเพาะอาหารพองตัวและเกิดการสำรอกของกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร การแก้ไข คุณอาจดื่มน้ำมากๆ หรือปรึกษาคุณหมอให้ช่วยสั่งยาลดกรดที่ปลอดภัยให้กับคุณ ไม่ควรซื้อ ยากินเอง เพราะยาลดกรดบางประเภทจะมีส่วนผสมของโซเดียมคาร์บอเนต ซึ่งอาจจะเป็น อันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ ขาเป็นตะคริว เกิดจากระดับของแคลเซียมในเลือดลดต่ำลง และอาจเกิดจากการไหลของเลือดขาช้าลง การแก้ไข การนอนยกขาให้สูง ให้ดื่มนมให้มากจะช่วยลดโอกาสอาการนี้ได้ การนวดและใช้ความร้อน ประคบจะทำให้ตระคริวหายเร็วขึ้น ริดสีดวง เกิดจากการติดขัดของระบบไหลเวียนของเลือดในร่างกายส่วนล่างในระยะตั้งครรภ์ทำให้เกิด เส้นเลือดขอดที่ทวาร มักจะเกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์อาการที่เกิดขึ้นจะมี ตุ่มพองสีคล้ำเป็นกลุ่มอยู่รอบรูทวารหนักหรือในส่วนล่างของลำไส้ใหญ่ส่วนสุดท้ายทำให้มีอาการ […]

อาการแพ้ฮอร์โมนของคุณแม่ตั้งครรภ์ ส่งผลยังไงกับแม่และลูกน้อย

อาการแพ้ฮอร์โมน - momandbabyth

อาการแพ้ฮอร์โมนของคุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลง มีการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และฮอร์โมนเอสโตรเจนมากขึ้น รวมถึงมีฮอร์โมนใหม่อีกตัวหนึ่งที่สร้างจากรกคือ ฮอร์โมน HCG ซึ่งระดับฮอร์โมนต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงนี้เองที่ทำให้คุณแม่บางคนเกิดอาการแพ้ฮอร์โมนท้องในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก สำหรับคุณแม่บางคนฮอร์โมนไม่ได้ทำให้เกิดอาการแพ้ท้องเท่านั้น แต่อาจทำให้เกิดอาการผื่นแพ้ ผื่นแดง หรือมีผื่นคล้ายสิวเกิดขึ้นตามร่างกายได้ โดยคุณแม่บางคนอาจจะมีอาการตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ แต่คุณแม่บางคนกลับมีผื่นแพ้ฮอร์โมนในช่วงหลังคลอด เนื่องจากเมื่อคลอดลูกแล้วระดับฮอร์โมนที่เคยสูงในระหว่างตั้งครรภ์จะลดระดับลงอย่างรวดเร็ว การที่คุณแม่แต่ละคนมีอาการแตกต่างกัน เพราะอาการต่างๆ เหล่านี้เกิดจากการที่ร่างกายของแต่ละคนตอบสนองต่อระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงต่างกัน ในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจจะไม่มีอาการใดเลย คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการแพ้ท้องมาก หรือมีหลายอาการเกิดขึ้น เช่น มีผื่นแพ้ มีสิวฝ้า หรือบางคนระดับฮอร์โมนมีผลต่อระดับความดันโลหิตด้วย หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการผื่นแพ้เพราะฮอร์โมน คุณหมอมักรักษาตามอาการ แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ให้ยาแก้แพ้ใดๆ เพราะยาอาจมีผลต่อเด็กในครรภ์ได้ และคุณแม่ควรดูแลผิวไม่ให้อักเสบติดเชื้อ พยายามอย่าถูหรือเกา และไม่ควรซื้อยาแก้แพ้มากินหรือทาเองอย่างเด็ดขาดเพราะยาอาจมีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้ และอาการผื่นแพ้นี้มักจะหายไปหลังคลอดลูก แม่มีอาการผื่นแพ้ฮอร์โมนเข้าใกล้ลูกได้ไหม ส่วนคุณแม่บางคนอาจมีอาการผื่นแพ้ฮอร์โมนหลังคลอด หากมีอาการมากคุณหมออาจพิจารณาให้ยากินแก้แพ้ที่มักมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ซึ่งหากคุณแม่ตัดสินใจกินยาแก้แพ้ คุณแม่จะไม่สามารถให้นมลูกได้ เพราะสเตียรอยด์จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและอาจทำให้ลูกได้รับยาผ่านทางน้ำนม หากไม่รักษาด้วยยากิน ก็อาจรักษาด้วยยาทาแก้แพ้ซึ่งมีส่วนผสมของสเตียรอยด์เช่นกัน ถ้าคุณแม่ทายาแก้แพ้ก็ต้องระวังไม่ให้ผิวที่ทายาสัมผัสกับผิวลูก เพราะผิวทารกอ่อนบางมาก หากสัมผัสยาที่มีสเตียรอยด์อาจเกิดอาการผิวไหม้ได้ ซึ่งถ้าคุณแม่ไม่ได้กินหรือทายาแก้แพ้ที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ คุณแม่สามารถดูแลและให้นมลูกได้ตามปกติ อาการผื่นแพ้ฮอร์โมนนี้จะหายไปได้เอง ภายในประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังคลอด เมื่อร่างกายปรับตัวกับระดับฮอร์โมนได้แล้ว ผื่นนั้นก็จะหายไปเอง และพบว่าคุณแม่ที่เคยมีอาการผื่นแพ้ฮอร์โมน […]

อาการแพ้ท้อง เป็นอย่างไรและมีวิธีป้องกันการแพ้ท้อง

อาการแพ้ท้อง - momandbabyth

อาการแพ้ท้องและวิธีแก้ไข เมื่อคุณแม่เริ่มรู้สึกว่ามีสิ่งมีชีวิตอีกชีวิตหนึ่งกำลังเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์อย่างช้าๆ เชื่อว่า ความรู้สึกของคุณแม่ต้องมีความสุขอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ แต่ควบคู่กับความสุข คือ ความเบื่อหน่ายกับการตั้งครรภ์ เนื่องจากอาการหรือภาวะที่ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์ซึ่งมีอยู่หลายอาการด้วยกัน และเกิดขึ้นได้แทบจะทุกระยะของการตั้งครรภ์เลยทีเดียว ในที่นี้จะกล่าวถึงอาการแพ้ท้อง ซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่คุณแม่บางท่านอาจจะต้องเผชิญเป็นด่านแรกของการตั้งครรภ์ และอาจจะรู้สึกหงุดหงิด รำคาญอยู่ไม่น้อยทีเดียว เพราะอาการดังกล่าวมักสร้างความรู้สึกไม่สบายให้ว่าที่คุณแม่แทบจะทุกเช้าที่ตื่นขึ้นมา อย่างไรก็ตามอาการแพ้ท้องอาจจะไม่ได้เกิดกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทุกคน แต่หากท่านเป็นคนหนึ่ง ที่ต้องประสบกับอาการนี้ก็อย่าเพิ่งวิตกกังวลไป เพราะอาการแพ้ท้องเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อย เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจรายละเอียดของอาการแพ้ท้องอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับ สาเหตุของการเกิดอาการแพ้ท้องว่าเกิดจากเหตุใด ลักษณะอาการแพ้ท้องที่ปรากฏ ตลอดจนวิธีการป้องกันการเกิดอาการแพ้ท้อง ทั้งนี้สิ่งที่ควรทราบ คือ อาการแพ้ท้องไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์แต่อย่างใด เพราะในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ทารกยังพึ่งอาหารจากคุณแม่น้อยมาก ส่วนใหญ่จะใช้อาหารที่สะสมในตัวทารกเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะสามารถปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติได้ เพราะหากเกิดอาการแพ้มาก และเป็นระยะเวลานานๆ อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายคุณแม่และทารกในครรภ์ได้เช่นกัน แต่โดยปกติแล้วอาการดังกล่าวไม่ใช่อาการถาวร จะหายได้เองเมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ 2 (ประมาณ 14 – 16 สัปดาห์) หลังจากผ่านพ้นระยะนี้คุณแม่ก็คงจะรู้จักแต่คำว่า หม่ำ หม่ำ หม่ำ จนอาจจะรั้งไว้ไม่อยู่เป็นแน่ อาการแพ้ท้อง อาการแพ้ท้อง เป็นภาวะที่เกิดได้กับว่าที่คุณแม่หลายๆท่านที่เริ่มตั้งครรภ์ โดยมากมักปรากฏอาการบ่อยในช่วงเช้า จึงมีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Morning Sickness แต่อาการแพ้ท้องไม่ได้เป็นตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ กล่าวคือ ส่วนใหญ่มักจะปรากฏอาการในช่วง 2- […]

เริ่มตั้งครรภ์ มีอาการเริ่มแรกของการตั้งครรภ์อย่างไรบ้าง

เริ่มตั้งครรภ์ - momandbabyth

เริ่มตั้งครรภ์ มีอาการเริ่มแรกอย่างไร การขาดประจำเดือน ถ้าคุณเป็นคนที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ อาการปกติที่บ่งบอกได้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์คือ ประจำเดือนไม่มาภายหลังปฏิสนธิได้ 2 สัปดาห์ แต่ถ้าคุณเป็นคนที่มีประจำเดือนมา ไม่สม่ำเสมอ อาจเป็นสาเหตุอื่นก็ได้ที่ทำให้ประจำเดือนคุณขาดหายไป เช่นมีความ เครียดจากการทำงาน, มีความวิตกกังวลมาก หรือไม่สบาย ก็ไม่แน่ว่าคุณจะตั้งครรภ์ ในบางรายที่ตั้งครรภ์แล้ว อาจมีเลือดออกเล็กน้อยทางช่องคลอดในช่วงเวลาที่ครบรอบเดือน เจ็บ ตึง คัดเต้านม ขนาดของเต้านมจะเริ่มขยายขึ้น หัวนมเจ็บและไวต่อสิ่งสัมผัส มีเส้นเลือดดำสีเขียวๆ ปรากฏขึ้นที่บริเวณผิวหนังรอบเต้านม หัวนมมีสีคล้ำขึ้นและตั้งชู ปัสสาวะบ่อยขึ้น ฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์มีผลทำให้เลือดมาคั่งในเชิงกรานมาก เพื่อไปหล่อเลี้ยง ตัวอ่อนมากขึ้น ระบบปัสสาวะที่ต่อเนื่องถึงกันจึงได้รับผลกระทบไปด้วย กระเพาะปัสสาวะ จึงระคายเคืองและบีบตัวบ่อยขึ้น ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย รวมทั้งต้องลุกมาเข้าห้องน้ำใน ตอนกลางคืนบ่อยๆ ด้วย ท้องผูกกว่าปกติ มีอาการตกขาวเล็กน้อย มีมูกขาวๆ ออกมาจากช่องคลอด โดยไม่มีอาการแสบ หรือคันบริเวณช่องคลอดแต่อย่างใด รู้สึกเหนื่อยง่าย อยากหลับตลอดเวลา นอกจากตอนเย็นหลังเลิกงานแล้วยังเหนื่อยล้าในตอนกลางวันอีกด้วย อาการเช่นนี้ดีสำหรับคุณแม่ เพราะเท่ากับช่วยลดกิจกรรมต่างๆ ลงทั้งที่บ้านและที่ทำงาน จะได้พบปะเจอะเจอผู้คนน้อยลง หรือไม่ค่อยอยากเดินทางไปไหนมาไหน ช่วยให้คุณแม่ได้รับเชื้อโรคและสารพิษจาก สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษน้อยลง รู้สึกขมๆ เฝื่อนๆ […]

อยากได้ลูกแฝดทำอย่างไร มีปัจจัยอะไรบ้าง และข้อควรระวังหากได้ลูกแฝด

อยากได้ลูกแฝดทำอย่างไร - momandbabyth

อยากได้ลูกแฝดทำอย่างไร สำหรับคุณแม่ที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ ไม่ต้องนั่งลุ้นเหมือนเช่นแต่ก่อนเพราะเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีทางการแพทย์ทำให้หลาย ๆ คนประสบความสำเร็จในการมีลูกได้มากขึ้น จริงมั๊ยคะ ซึ่งจริง ๆ แล้วตามธรรมชาติการที่จะเกิดลูกแฝดนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์พอสมควรเหมือนกันฝาแฝดมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทคือ เด็กแฝดที่เกิดจากการปฏิสนธิจากไข่ 1 ใบ (Identical twins) เด็กจะรูปร่างหน้าตาเหมือนกัน เพศเดียวกัน เด็กแฝดที่เกิดจากการปฏิสนธิจากไข่มากกว่า 1 ใบ (Fraternal twins) จะมีรูปร่าง หน้าตา ไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจเป็นคนละเพศกันก็ได้ อยากได้ลูกแฝดทำอย่างไร มีปัจจัยอะไรในการเกิดฝาแฝด กรรมพันธุ์ เครือญาติของแม่ที่มีแฝด จะมีโอกาสได้ลูกแฝดมากกว่าเครือญาติของพ่อที่มีลูกแฝด เชื้อชาติ ในฝรั่งผิวขาวชาวยุโรปจะเกิดฝาแฝด 1 คู่ต่อหญิงตั้งครรภ์ 100 คน ส่วนหญิง นิโกรจะเกิด 1 คู่ต่อหญิงตั้งครรภ์ 80 คน อายุของแม่และจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ เพราะยิ่งอายุและจำนวนครั้ง ของการตั้งครรภ์มากเท่าไร ไข่จะมีโอกาสตกเยอะขึ้น โอกาสตั้งครรภ์แฝดก็มากขึ้นตาม หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากโดยสาเหตุมาจากการกินเยอะ จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝด มากกว่า หญิงรูปร่างผอมที่เกิดจากภาวะทุพโภชนาการหรือขาดอาหาร ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความสมบูรณ์ของร่างกาย การได้รับสารหรือยากระตุ้นให้ตกไข่มากกว่า […]