สะดือทารก เรื่องน่ารู้ สำหรับการดูแลสะดือทารก

น่ารู้ สะดือทารก หลังคลอดสะดือทารกสิ่งจำเป็นที่ต้องดูแลและเอาใจใส่กันเป็นพิเศษเพราะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสายใยบางๆ ระหว่างคุณแม่คุณลูกนั่นเอง สะดือทารก ที่ต้องดูแลกันเป็นพิเศษหน่อยเพราะว่าทารกนั้นยังไม่สามารถพูหรือบอกอะไรได้หากมีอาการผิดปกติ ฉะนั้นคุณแม่และคุณพ่อต้องคอยสังเกตและเอาใจใส่ สะดือทารก กันสักหน่อยแล้ว และวันนี้ Momandbabyth มีเรื่อง สะดือทารกมาบอกเล่าให้คุณแม่คุณพ่อได้ให้ฟังเพื่อให้ดูแลลูกน้อยเป็นไปอย่างถูกต้องอีกด้วยนะค่ะ นั้นเรามาดูเรื่องสะดือทารกกันเลยดีกว่าค่ะว่าอาการแบบใดถึงเรียกว่าผิดปกติซึ่งคุณแม่และคุณพ่อควรระวังให้กับลูกน้อยและควรทำความสะอาดสะดือทารกและให้ทั่วถึงเพื่อไม่ให้สะดือทารกเกิดการติดเชื้อและหากเกิดอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ สะดือทารก “สิ่งจำเป็นที่ต้องดูแล” สะดือแฉะ สะดือไม่แห้งหรือมีน้ำหยดจากสะดือ เวลาทารกร้องหรือเบ่งเป็นน้ำสีเหลืองหรือเขียวและอาจมีเลือดออกซิบๆ สะดืออักเสบ บริเวณรอบๆ ขั้วสะดือบวมแดงและร้อน ลูกร้องกวน เมื่อดมดูจะได้กลิ่นเหม็นผิดปกติ เลือดออกทางสะดือ เมื่อเอาสำลีซับจะมีเลือดติดออกมาอาจจะมีก้อนเนื้อแดงเรื่อขนาดเท่าถั่วแดงอยู่ในสะดือ สะดือโป่ง สะดือจุ่น เด็กบางคนเมื่ออายุใกล้จะ 1 เดือน สะดือจะโป่งออกมา โดยเฉพาะเด็กร้องเก่ง การร้องจะเป็นตัวเร่งทำให้สะดือโป่งมากขึ้น ถ้าขนาดที่โป่งออกมาไม่ใหญ่จนเกินไปอาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติ ตามปกติสะดือจะยุบไปเองภายใน 2-3 เดือน แต่บางคนอาจถึง 1 ปี ก่อนที่ลูกน้อยจะมีสะดือ อย่างที่กล่าวมาแล้วคุณแม่ควรดูแลสะดือทารกดังนี้ค่ะ คุณแม่หรือคนที่ดูแลควรตัดเล็บให้สั้น ล้างมือให้สะอาดก่อนการทำความสะอาดสะดือลูก เช็ดทำความสะอาดสะดือให้หมดทุกส่วน โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อระหว่างสายสะดือกับบริเวณผิวหนังควรทำทุกครั้งหลังอาบน้ำหรืออย่างน้อยวันละสองครั้ง เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ แอลกอฮอล์ 70% เบตาดีน หรือตามที่โรงพยาบาลจัดให้ การเช็ดทำความสะอาดให้เช็ดวนรอบสะดือทารกเพียงรอบเดียว ถ้าเห็นว่าสะดือยังไม่สะอาดควรเปลี่ยนสำลีก้อนใหม่ […]
การนอนของทารก เรื่องน่ารู้ ! สำหรับคุณแม่มือใหม่

น่ารู้ ! เรื่อง การนอนของทารก การนอนของทารกหรือการนอนของลูกน้อยของคุณเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากหลังการคลอดลูก เพราะใน การนอนของทารก นั้นร่างกายได้มีพักผ่อนและในขณะเดียวกัน การนอนของทารก ก็ยังช่วยสร้างเครือข่ายเส้นใยประสาท ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (GROWTH HORMONE) ก็ถูกหลั่งออกมาได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ การนอนของทารก ก็ยังจะส่งผลให้ระบบสมองได้มีการซ่อมแซมตัวเองอีกด้วย ฉะนั้นแล้วการนอนของทารกจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากควรให้ทารกหรือลูกน้อยได้นอนหลับกันอย่างเต็มที่เพื่อที่ตอนตื่นขึ้นมากสมองของลูกน้อยจะพร้อมรับกับการเรียนรู้ได้อย่างดีทีเดียว แต่ทว่าทารกแต่ล่ะคนมักจะมีนิสัยที่แตกต่างกันซึ่งก็หมายความว่าการนอนก็ย่อมแตกต่างกันซึ้งอาจจะเป็นปัญหาสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายท่าน แต่วันนี้ Momandbabyth ก็มีทางออกและทางแก้ในเรื่องการนอนของทารกให้แก่คุณพ่อคุณแม่ด้วยค่ะ ลักษณะการนอนของทารก นอนกรน ขณะที่ลูกนอนหลับคุณอาจพบว่า เสียงหายใจของลูกดัง (ฟี่ๆ) เหมือนเสียงกรนของผู้ใหญ่ อันที่จริงแล้วการนอนกรนไม่ใช่ปัญหาการนอนโดยตรงของเด็ก เพียงแต่ว่าเด็กเล็กๆ เวลานอนหงายมักมีเสียงหายใจดังฟี่ๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ช่วงแรกเกิดหลอดลมที่อยู่ด้านหน้ากระดูกอ่อนที่เป็นโครงสร้างของหลอดลมยังเจริญไม่เต็มที่ในเด็กบางคนทำให้หลอดลมหล่นลงมาขัดขวางอากาศที่ถูกหายใจเข้าสู่ทางเดินหายใจ เมื่อลูกหายใจเข้า-ออกจึงเกิดเสียงดัง เด็กที่มีน้ำหนักตัวมากอาจจะมีต่อมอะดีนอยด์ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่งอยู่ในผนังทางเดินหายใจด้านหลังจมูกมีขนาดโตกว่าปกติ นอกจากนี้ในเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากอาจมีไขมันอยู่ในทางเดินหายใจด้านหลังจมูกมากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า เมื่อลูกนอนหงายต่อมอะดีนอยด์และไขมันอาจจะตกลงมากีดขวางทางเดินหายใจ สังเกตง่ายๆ ในเด็กกลุ่มนี้ หากนอนหงายเสียงกรนจะดังมากขึ้นมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่พบว่า เด็กนอนกรนจนตัวเขียว เพราะขาดออกซิเจนเนื่องจากกระดูกบริเวณหลอดลมไม่แข็งแรง ดังนั้น ตราบใดที่พัฒนาการทั่วไปเป็นปกติ ลูกไม่งอแงหรือเศร้าซึม ไม่มีอาการขาดออกซิเจน การนอนกรนถือว่าเป็นเรื่องปกติที่พบได้ เพราะหลังจาก 4-5 เดือนไปแล้ว กระดูกอ่อนบริเวณหลอดลมจะแข็งแรงขึ้นเสียงกรนก็จะหายไปลูกน้อยจึงสามารถนอนได้ตามปกติ นอนสะดุ้ง เป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับโดยอัตโนมัติ (Reflex) ของเด็กทารกทุกคน […]
ท้องผูกหลังคลอด ทำอย่างไรดี

ท้องผูกหลังคลอด คุณแม่ที่เคยท้องผูกขณะที่ตั้งครรภ์คาดหวังว่าเมื่อคลอดเจ้าตัวน้อยแล้ว อาการท้องผูกนั้นจะหายไป แต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นทุกคนค่ะ คุณแม่บางคนยังคงมีอาการท้องผูกต่อเนื่องไป เรามาดูกันค่ะว่ามีสาเหตุจากอะไร ทำไมหลังคลอดจึงท้องผูก จากการรวบรวมสถิติพบว่าคุณแม่ที่มีอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์สามารถมีอาการท้องผูกต่อไปหลังคลอดบุตรแล้วถึง 50 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุที่เห็นได้ชัดมีหลายประการค่ะ สาเหตุที่พบได้บ่อยๆก็คือ อาการเจ็บจะแผลที่คลอด ทำให้ไม่กล้าเบ่ง ไม่ว่าจะเป็นการคลอดทางธรรมชาติหรือโดยการผ่าตัดหน้าท้อง คุณแม่บางคนอาจจะมีความเจ็บมากขึ้นจากริดสีดวงทวารด้วยนะคะ คุณแม่ที่คลอดโดยการผ่าตัดหน้าท้อง อาจจะมีอาการท้องผูกไปสัก 1-2 อาทิตย์ เพราะลำไส้อาจจะคืนสภาพมาทำงานปกติได้ช้าอันเป็นผลเนื่องมากจากการผ่าตัด ยาที่ได้รับเพื่อระงับความเจ็บปวดจากการคลอดบางชนิดอาจจะทำให้มีอาการท้องผูกได้ อันนี้ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ หรือถ้าไม่แน่ใจ ถ้าไม่มีอาการเจ็บปวดอีกต่อไปก็ไม่จำเป็นต้องทานยาอีก ยาวิตามินที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็ก ธาตุเหล็กจะทำให้มีอาการท้องผูกได้ ท้องผูกหลังคลอด ทำอย่างไรดี การแก้ปัญหาท้องผูกหลังคลอดก็ไม่ยากจนเกินไปค่ะ ถ้าสังเกตว่าสาเหตุที่ทำให้ท้องผูกเป็นอย่างไร ก็สามารถแก้ไขได้ง่ายขึ้น กินอาหารที่มีกากมากขึ้น เช่น ผักและผลไม้ ดื่มน้ำหรือน้ำผลไม้มากๆ ประมาณ 7-10 แก้วต่อวัน น้ำที่ดื่มเข้าไปจะทำให้อุจจาระนิ่มลงและถ่ายง่ายขึ้น ไม่ควรกลั้นอุจจาระเพราะกลัวเจ็บแผล อดทนนิดนึงนะคะ ส่วนใหญ่แล้วการถ่ายอุจจาระจะไม่ทำให้แผลที่เย็บเอาไว้นั้นแยกออกค่ะ ออกกำลังกายด้วยการเดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณคลอดโดยการผ่าตัดหน้าท้อง การเดินจะเป็นการกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้นและเป็นการกระตุ้นการขับถ่าย หากทำวิธีการข้างต้นแล้วไม่ได้ผล คุณอาจจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับยาถ่าย โดยส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาถ่ายชนิดที่ทำให้อุจจาระนิ่มลงถ่ายได้ง่าย (stool softener)
ควันบุหรี่ตัวการสำคัญที่ทำลายระบบทางเดินหายใจของลูกน้อย อย่างคาดไม่ถึง

ควันบุหรี่ตัวการสำคัญที่ทำลายระบบทางเดินหายใจของลูกน้อย อย่างคาดไม่ถึงควันบุหรี่…ตัวการสำคัญที่ทำลายระบบการหายใจของลูกน้อยอย่างคาดไม่ถึง ถึงแม้ในปัจจุบันทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยได้ออกกฏหมายต่างๆ เพื่อควบคุมการสูบบุหรี่ของคน ไม่ว่าจะเป็นการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ห้ามขายบุหรี่ในสถานศึกษาหรือใกล้แหล่งสถานศึกษา แต่จากผลการวิจัยล่าสุดพบว่า ?เด็กส่วนใหญ่ที่มีปัญหาทางด้านระบบทางเดินหายใจได้รับผลกระทบโดยตรงจากครอบครัว? โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ของนิวยอร์คได้เผยแพร่ผลการวิจัยล่าสุดของดร.แมนเฟรดด์ นูเบอร์เกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจประจำมหาวิทยาลัย เวียนนา ประเทศออสเตรีย จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเด็กกว่า 20,000 คนใน 8 ประเทศทั่วโลก ซึ่งยืนยันว่า ?พ่อแม่ที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์บุตรรวมทั้งหลังคลอดบุตร ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจของลูกน้อย? โดยการที่พ่อแม่สูบบุหรี่ขณะลูกน้อยยังอยู่ในครรภ์จนถึงอายุ 12 ปี ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจของลูก ทำให้เกิดปัญหาต่างๆมากมายเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ภาวะหายใจล้มเหลว และมะเร็งปอดในอนาคตอัน ใกล้ของลูกน้อยอย่างคาดไม่ถึง อีกทั้ง ผลการวิจัยยังระบุว่า? เด็กส่วนใหญ่ที่มีพ่อแม่หรือพี่น้องที่สูบบุหรี่ มีแนวโม้วที่จะติดบุหรี่ตั้งแต่เด็กเนื่องจากได้รับอิทธิพลและแบบอย่างมาจากครอบครัวซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการสูบบุหรี่ก่อนวัยอันควรของเด็กเหล่านั้น? ผลกระทบจากควันบุหรี่ จากการวิเคาระห์กลุ่มตัวอย่างเด็กจากทั่วโลกรวมทั้งเด็ก 22,712 คน จากกลุ่มเป้าหมายใน 8 ประเทศพบว่า ?31-40 เปอร์เซนต์ของเด็กที่มีแม่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ จะเกิดปัญหาการทำงานผิด ปกติของระบบทางเดินหายใจ มากกว่าเด็กที่มีแม่ไม่สูบบุหรี่ ส่วนในเด็กเกิดใหม่ที่แม่สูบบุหรี่พบว่า กว่า 24-27 เปอร์เซนต์ พบปัญหาความผิดปกติของปอด? และเป็นที่น่าตกใจว่า ?กว่า 60 เปอร์เซต์ของกลุ่ม ตัวอย่างของเด็กในปัจจุบันกำลังเผชิญปัญหาและได้รับผลกระทบโดยตรงจากควันบุหรี่ที่พ่อแม่สูบทั้งในขณะตั้งครรภ์และแรกเกิด […]
การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก

การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก หลังคลอด ในการประเมินสุขภาพเด็กนอกจากจะตรวจหาความผิดปกติหรือความบกพร่องทั้งทางร่างกาย พฤติกรรม และความรู้สึกนึกคิดแล้วแพทย์จำเป็นต้องประมวลข้อมูลเพื่อจะได้ทราบว่าเด็กคนนั้นเจริญเติบโตและแสดงพฤติกรรมและความสามารถสมกับวัยหรือไม่เพื่อจะได้ให้การวินิจฉัยและการแก้ไขปัญหาแต่เนิ่น ๆ ในรายที่เติบโตช้าหรือมีพฤติกรรมพัฒนาการช้า ส่วนในกรณีปกติหรือเร็ว แพทย์สามารถแจ้งให้บิดามารดาของเด็กทราบและแนะนำวิธีปฏิบัติ ที่เหมาะสมต่อไปทั้งในด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาที่พบ บ่อยในแต่ละวัน การประเมิน หมายถึง การวัดและนำผลของการวัดมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานแล้ว จึงตัดสินแปลผลได้ว่าสิ่งที่ถูกประเมินนั้นมีคุณภาพเป็นอย่างไร เช่น ถ้านักศึกษาทราบว่าเด็กชาย คนหนึ่งหนัก 10 กก. ก็ยังไม่สามารถประเมินการเติบโตและพัฒนาการเด็กของเด็กคนนี้ได้ถ้าไม่รู้ว่าเด็กอายุเท่าไร หรือสูงเท่าไร เพราะวัด (ชั่ง) น้ำหนักเด็กได้แต่ไม่ทราบจะไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานอะไร แต่ถ้าทราบว่าเด็กคนนั้นมีอายุ 12 เดือน จะสามารถประเมินได้ว่าเมื่อเทียบกับ มาตรฐานน้ำหนักตามวัย ซึ่งเท่ากับ 9 กก. แล้วเด็กคนนี้มีน้ำหนัก ตัวสูงกว่าเฉลี่ยเล็กน้อยถือเป็นปกติ แต่ถ้าเด็กคนนั้นมีอายุ 3 ปี เทียบกับมาตรฐานน้ำหนักตามอายุแล้ว จะพบว่าเด็กมีสภาพทุพโภชนาการ ระดับที่ 2 เป็นต้น 1. การประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก การเติบโต (growth) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงด้านขนาดของร่างกาย และอวัยวะซึ่งเกิดจากการ เพิ่มจำนวนเซลล์ การเพิ่มขนาดของเซลล์ และ matrix จึงสามารถประเมินการเติบโตได้โดยการชั่งน้ำหนัก วัดความยาวหรือส่วนสูง […]
ตรวจภายในหลังคลอด คุณหมอตรวจอะไรบ้าง ไปดูกัน

การให้หมอตรวจภายในหลังคลอด การตั้งครรภ์ และการคลอดที่ผ่านมา มีผลทำให้อวัยวะภายในช่องคลอด รวมทั้งบริเวณ เต้านม เกิดการเปลี่ยนแปลงจากฮอร์โมนต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้นในระยะนี้ ดังนั้นหลังคลอดราว 4 – 6 สัปดาห์ หมอจะทำการตรวจเต้านม เพื่อคลำหาก้อนผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ตรวจภายในหลังคลอด คุณหมอตรวจอะไรบ้าง หลังจากนั้นหมอจะตรวจภายใน โดยเริ่มตรวจตั้งแต่บริเวณฝีเย็บใกล้ปากช่องคลอด ในกรณีที่คลอดเอง หรือ ตรวจแผลทางหน้าท้องในกรณีต้องผ่าคลอด ตรวจช่องคลอด ปากมดลูก และคลำดูขนาดมดลูกว่ามีขนาดปกติแล้วหรือยัง เมื่อตรวจพบว่าทุกส่วนปกติ ไม่มีการอักเสบหลงเหลืออยู่ หมอจะตรวจเช็คมะเร็งบริเวณปากมดลูกด้วย ถึงแม้การตรวจภายในหลังคลอดจะไม่ค่อยพบความผิดปกติก็ตาม และจะแนะนำการคุมกำเนิดควบคู่ไปด้วย ปกติแล้วควรเว้นห่างการมีบุตรคนต่อไปสักประมาณ 1 ปี เป็นอย่างน้อย
คุมกำเนิดอย่างไร หลังคลอด สำหรับคุณแม่หลังคลอด

คุมกำเนิดอย่างไร หลังคลอด ช่วงเดือนครึ่งนับตั้งแต่หลังคลอดเป็นต้นไป ทางแพทย์ถือว่าเป็นช่วงหลังคลอด คือ ช่วงที่ร่างกายของคุณแม่กำลังปรับเข้าสู่สภาพปกติ ตั้งแต่มดลูกหดตัวเข้าอู่ จนกระทั่งสู่สภาพที่เป็นมดลูกปกติธรรมดาเหมือนกับมดลูกที่ไม่เคยรับสภาพการตั้งครรภ์มาก่อน ซี่งเมื่อผ่านช่วงคลอดไปแล้ว สภาพของร่างกายก็จะกลับคืนสู่ภาวะปกติอีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งเรื่องของการที่จะมีครรภ์ต่อไปได้อีก ถ้าหากไม่มีการคุมกำเนิด จริงอยู่ที่ว่าการให้นมแม่นั้น ถือเป็นการคุมกำเนิดวิธีหนึ่งแต่ก็มักไม่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์นัก ดูได้จากคุณแม่ในสมัยก่อนทั้งๆที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซะส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีลูกดกแทบจะหัวปีท้ายปีเลยทีเดียว เพราะขณะที่การให้นมแม่หรือการที่แม่ยังคงมีน้ำนมไหลออกมานั้น จะมีประสิทธิภาพเพียงหกสิบเปอร์เซ็นต์เท่านั้น นั่นก็หมายความว่า คุณแม่มีโอกาสตั้งครรภ์ในช่วงที่ยังคงให้ลูกดูดนมแม่อยู่สูงถึงสี่สิบเปอร์เซ็นต์ วิธีคุมกำเนิดอย่างไร หลังคลอด เมื่อเป็นเช่นนี้ในช่วงระยะที่คุณแม่ยังให้นมบุตรอยู่นั้น หากมีเพศสัมพันธ์ก็จำเป็นต้องเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดที่ได้ผลและไม่มีผลกระทบต่อการให้นมบุตร ซึ่งอาจจะเป็นการใช้ถุงยางอนามัย การฉีดยาคุมหรือใส่ห่วงคุมกำเนิดก็ได้ เพราะในทางการแพทย์ได้มีการศึกษาแล้วว่า การคุมกำเนิดอย่างไร หลังคลอดที่มีผลต่อการให้นมบุตรนั้นมีอยู่วิธีเดียวก็คือ การทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นองค์ประกอบ เพราะฮอร์โมนเองโตรเจนตัวนี้จะเป็นผลทำให้การสร้างน้ำนมลดน้อยลงไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงลูกให้เจริญเติบโตได้ตามมาตรฐานอีกต่อไป หรือไม่ก็ต้องเลือกทานเฉพาะยาเม็ดคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรเพียงอย่างเดียว ไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนมาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งแม้ว่าจะมีให้เลือกอยู่น้อยยี่ห้อก็ตาม แต่ก็ยังเป็นทางเลือกสำหรับคุณแม่ได้อยู่ค่ะ
เสียงร้องไห้บอกอะไร หนอ มีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง

เสียงร้องไห้บอกอะไรหนอ แม่มือใหม่เอี่ยมอ่องมักจะประสาทแทบเสียและกังวลไปสารพัดเมื่อได้ยินลูกร้องไห้ ก็ทารกแรกเกิดนั้นร้องไห้บ่อย บางคนร้องไม่หยุดทำเอาพ่อกับแม่ทำอะไรไม่ถูก เพราะไม่รู้ว่าลูกเป็นอะไรกันแน่ การทำความรู้จักกับเสียงร้องของลูกจึงเป็นเรื่องที่ …ห้ามพลาดเลยล่ะ !!! ต้นตอ…เสียงร้องไห้บอกอะไร ตามปกติแล้วเด็กน้อยวัยแรกคลอด กิจวัตรประจำวันส่วนใหญ่จะได้แก่ กิน นอน ถ่าย และร้องไห้ นอกจากนี้ยังมีสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนตอนอยู่ในท้องแม่สักนิดถาโถมเข้าใส่ เมื่อถามว่าทำไมลูกจึงต้องร้องไห้ด้วย เด็กก็คล้ายกับเราค่ะ มีอารมณ์ มีเรื่องให้ไม่สบายใจ ไม่สบายตัวอยู่เหมือนกัน ในเมื่อเขายังพูดไม่ได้ วิธีการสื่อสารแสดงออกให้คนอื่นรู้ได้ ก็คือการร้องไห้นั่นเอง สำหรับประเด็นใหญ่ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เจ้าหนูร้องไห้ และเสียงร้องไห้บอกอะไร Momandbabyth ลิสต์ออกมาได้ดังนี้ค่ะ หิว : เด็กทารกจะหิวทุกๆ 2 ชั่วโมง ถ้าตื่นมาแล้วไม่ได้กินล่ะก็ เจ้าหนูอาจจะร้องโวยวายเพราะความหิวได้ แน่นท้อง : หากกินนมเสร็จแล้วนอนเลย อาจเป็นสาเหตุให้เจ้าหนูปวดท้องเพราะท้องอืดท้องเฟ้อ และแหวะนมออกมาได้ ควรจะอุ้มให้เรอก่อนที่จะพาเข้าเข้านอน ง่วงนอน : แม้ง่วงนอนแต่ก็ไม่ยอมนอน นั่นคงเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยกับการนอนเสียเลย เช่น แสงสว่างมากเกินไป เสียงดัง เป็นต้น คุณแม่จึงควรจัดบรรยากาศให้สบายๆ มีอากาศถ่ายเทและไม่มีแสงรบกวนการนอนของลูกค่ะ อากาศร้อนหรือหนาว : […]
เรื่องควรรู้ “ศีรษะทารก” มีอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องรู้

เรื่องควรรู้ “ศีรษะทารก” ทารกเกือบทุกคนจะมีรูปร่างลักษณะใบหน้าค่อนข้างจะกลม คอสั้น แขน ขาสั้น ศีรษะทารกโตกว่าเมื่อเทียบกับช่วงลำตัว เมื่อโตขึ้นรูปร่างและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามพันธุกรรมของพ่อแม่ และสิ่งที่พ่อแม่มักจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ ศีรษะทารก เรื่องควรรู้ “ศีรษะทารก” ได้แก่ กะโหลกศีรษะ ประกอบด้วยกระดูกเป็นแผ่น ๆ ต่อกัน กระหม่อมบริเวณส่วนหน้าที่เปิดอยู่เรียกว่า กระหม่อมหน้าเป็นตำแหน่งที่กระดูก 4 ชิ้น มาประสานกันจะเหลือช่องตรงกลางเอาไว้และมีเยื่อบาง ๆ ปิดอยู่เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อสมอง ส่วนกระหม่อมหลังมีขนาดเล็กกว่าอยู่บริเวณท้ายทอยด้านหลังศีรษะเด็ก ลองสังเกตดูจะเห็นว่ากระหม่อมของลูกเต้นตุ๊บ ๆ ตามจังหวะชีพจรหรือถ้าคลำดูเบา ๆ จะรู้สึกนุ่ม ๆ เรียบ ๆ ก็ไม่ต้องวิตกหรือตกใจเพราะถือว่าปกติค่ะ กระหม่อมสำคัญอย่างไร กระหม่อมส่วนหน้าจะปิดเมื่ออายุประมาณ 1 ปีครึ่ง ส่วนกระหม่อมหลังปิดเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน เร็วกว่ากระหม่อมหน้าแต่หากกระหม่อมมีการปิดช้าหรือปิดเร็วก็อาจมีผลต่อตัวเด็ก เนื่องจากภายในกะโหลกศีรษะประกอบด้วยสมองถ้ากระหม่อมปิดเร็วเกินไปจะทำให้สมองเจริญเติบโตและขยายไม่เต็มที่ แต่ถ้าหากกระหม่อมปิดช้ากว่ากำหนดมักพบได้ในกรณีที่มีน้ำในสมองหรือโรคทางต่อมไร้ท่อเกิดจากการทำงานของต่อมธัยรอยด์บกพร่องแต่กำเนิดก็มีผลต่อพัฒนาการของเด็กเช่นกัน ระหว่างที่กระหม่อมศีรษะยังไม่ปิด (ก่อนขวบครึ่ง) สิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือ เรื่องอุบัติเหตุการกระทบกระเทือน ไม่ควรไปกดไปวุ่นวายทำอะไรกับกระหม่อมของลูก แต่ก็สามารถสังเกตสิ่งผิดปกติจากศีรษะลูก เช่น เวลาลูกไม่สบาย […]
อาการผิดปกติในลูกอ่อน (แรกเกิด – 3 เดือน) ที่สามารถเกิดขึ้นได้

อาการผิดปกติในลูกอ่อน (แรกเกิด – 3 เดือน) ลูกวัยแรกเกิด – 3 เดือนแรก อาการหลังคลอดคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มักกังวลไปตั้งแต่เรื่องกิน นอน ขับถ่าย เรียกว่าห่วงร้อยแปดพันประการกัน ยิ่งถ้าเป็นเรื่องสุขภาพของเจ้าตัวเล็กแล้วล่ะก็เรื่องใหญ่เชียว Momandbabyth จึงถือโอกาสพาคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ไปทำความรู้จักโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับลูกเล็กวัยแรกเกิดถึง 3 เดือนค่ะ อาการผิดปกติในลูกอ่อน Head to Shoulder เริ่มจากส่วนบนสุดของร่างกายไล่ลงไปถึงหน้าอกของลูก ช่วงแรกนี้มีระบบการทำงานของร่างกายที่สำคัญ คือ ระบบการหายใจและระบบการทำงานของหัวใจ ซึ่งโรคที่มักพบได้บ่อยมีดังนี้ อาการผิดปกติในลูกอ่อน ระบบหายใจ * หายใจเสียงดังเป็นช่วงๆ When : อาทิตย์แรกและอาทิตย์ที่ 2 หลังคลอด What : ลูกอาจจะจาม หายใจเสียงดัง หรือหายฮึดฮัดเป็นช่วง ๆ Why : ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อยจะไม่มีอาการผิดปกติอะไร อาจเป็นเพราะลูกยังเล็กจึงยังหายใจทางปากไม่เป็น เลยหายใจทางจมูกได้ทางเดียว เมื่อจมูกมีขี้มูกอุดตันตรงบริเวณโพรงจมูก ก็จะทำให้เกิดเสียงดัง แต่ถ้าลูกหายใจเสียงดังมาก ๆ เหมือนนอนกรน ต้องมาพบคุณหมอ เพราะลูกอาจจะมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อหลอดลมอ่อนตัว ทำให้เวลาหายใจเข้าหายใจเข้า-ออก […]