เรื่องควรรู้ “ศีรษะทารก” มีอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องรู้

เรื่องควรรู้ “ศีรษะทารก” ทารกเกือบทุกคนจะมีรูปร่างลักษณะใบหน้าค่อนข้างจะกลม คอสั้น แขน ขาสั้น ศีรษะทารกโตกว่าเมื่อเทียบกับช่วงลำตัว เมื่อโตขึ้นรูปร่างและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามพันธุกรรมของพ่อแม่ และสิ่งที่พ่อแม่มักจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ ศีรษะทารก เรื่องควรรู้ “ศีรษะทารก” ได้แก่ กะโหลกศีรษะ ประกอบด้วยกระดูกเป็นแผ่น ๆ ต่อกัน กระหม่อมบริเวณส่วนหน้าที่เปิดอยู่เรียกว่า กระหม่อมหน้าเป็นตำแหน่งที่กระดูก 4 ชิ้น มาประสานกันจะเหลือช่องตรงกลางเอาไว้และมีเยื่อบาง ๆ ปิดอยู่เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อสมอง ส่วนกระหม่อมหลังมีขนาดเล็กกว่าอยู่บริเวณท้ายทอยด้านหลังศีรษะเด็ก ลองสังเกตดูจะเห็นว่ากระหม่อมของลูกเต้นตุ๊บ ๆ ตามจังหวะชีพจรหรือถ้าคลำดูเบา ๆ จะรู้สึกนุ่ม ๆ เรียบ ๆ ก็ไม่ต้องวิตกหรือตกใจเพราะถือว่าปกติค่ะ กระหม่อมสำคัญอย่างไร กระหม่อมส่วนหน้าจะปิดเมื่ออายุประมาณ 1 ปีครึ่ง ส่วนกระหม่อมหลังปิดเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน เร็วกว่ากระหม่อมหน้าแต่หากกระหม่อมมีการปิดช้าหรือปิดเร็วก็อาจมีผลต่อตัวเด็ก เนื่องจากภายในกะโหลกศีรษะประกอบด้วยสมองถ้ากระหม่อมปิดเร็วเกินไปจะทำให้สมองเจริญเติบโตและขยายไม่เต็มที่ แต่ถ้าหากกระหม่อมปิดช้ากว่ากำหนดมักพบได้ในกรณีที่มีน้ำในสมองหรือโรคทางต่อมไร้ท่อเกิดจากการทำงานของต่อมธัยรอยด์บกพร่องแต่กำเนิดก็มีผลต่อพัฒนาการของเด็กเช่นกัน ระหว่างที่กระหม่อมศีรษะยังไม่ปิด (ก่อนขวบครึ่ง) สิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือ เรื่องอุบัติเหตุการกระทบกระเทือน ไม่ควรไปกดไปวุ่นวายทำอะไรกับกระหม่อมของลูก แต่ก็สามารถสังเกตสิ่งผิดปกติจากศีรษะลูก เช่น เวลาลูกไม่สบาย […]