สะดือทารก เรื่องน่ารู้ สำหรับการดูแลสะดือทารก

สะดือทารก - momandbabyth

น่ารู้ สะดือทารก หลังคลอดสะดือทารกสิ่งจำเป็นที่ต้องดูแลและเอาใจใส่กันเป็นพิเศษเพราะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสายใยบางๆ ระหว่างคุณแม่คุณลูกนั่นเอง สะดือทารก ที่ต้องดูแลกันเป็นพิเศษหน่อยเพราะว่าทารกนั้นยังไม่สามารถพูหรือบอกอะไรได้หากมีอาการผิดปกติ ฉะนั้นคุณแม่และคุณพ่อต้องคอยสังเกตและเอาใจใส่ สะดือทารก กันสักหน่อยแล้ว และวันนี้ Momandbabyth มีเรื่อง สะดือทารกมาบอกเล่าให้คุณแม่คุณพ่อได้ให้ฟังเพื่อให้ดูแลลูกน้อยเป็นไปอย่างถูกต้องอีกด้วยนะค่ะ นั้นเรามาดูเรื่องสะดือทารกกันเลยดีกว่าค่ะว่าอาการแบบใดถึงเรียกว่าผิดปกติซึ่งคุณแม่และคุณพ่อควรระวังให้กับลูกน้อยและควรทำความสะอาดสะดือทารกและให้ทั่วถึงเพื่อไม่ให้สะดือทารกเกิดการติดเชื้อและหากเกิดอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ สะดือทารก “สิ่งจำเป็นที่ต้องดูแล” สะดือแฉะ สะดือไม่แห้งหรือมีน้ำหยดจากสะดือ เวลาทารกร้องหรือเบ่งเป็นน้ำสีเหลืองหรือเขียวและอาจมีเลือดออกซิบๆ สะดืออักเสบ บริเวณรอบๆ ขั้วสะดือบวมแดงและร้อน ลูกร้องกวน เมื่อดมดูจะได้กลิ่นเหม็นผิดปกติ เลือดออกทางสะดือ เมื่อเอาสำลีซับจะมีเลือดติดออกมาอาจจะมีก้อนเนื้อแดงเรื่อขนาดเท่าถั่วแดงอยู่ในสะดือ สะดือโป่ง สะดือจุ่น เด็กบางคนเมื่ออายุใกล้จะ 1 เดือน สะดือจะโป่งออกมา โดยเฉพาะเด็กร้องเก่ง การร้องจะเป็นตัวเร่งทำให้สะดือโป่งมากขึ้น ถ้าขนาดที่โป่งออกมาไม่ใหญ่จนเกินไปอาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติ ตามปกติสะดือจะยุบไปเองภายใน 2-3 เดือน แต่บางคนอาจถึง 1 ปี ก่อนที่ลูกน้อยจะมีสะดือ อย่างที่กล่าวมาแล้วคุณแม่ควรดูแลสะดือทารกดังนี้ค่ะ คุณแม่หรือคนที่ดูแลควรตัดเล็บให้สั้น ล้างมือให้สะอาดก่อนการทำความสะอาดสะดือลูก เช็ดทำความสะอาดสะดือให้หมดทุกส่วน โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อระหว่างสายสะดือกับบริเวณผิวหนังควรทำทุกครั้งหลังอาบน้ำหรืออย่างน้อยวันละสองครั้ง เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ แอลกอฮอล์ 70% เบตาดีน หรือตามที่โรงพยาบาลจัดให้ การเช็ดทำความสะอาดให้เช็ดวนรอบสะดือทารกเพียงรอบเดียว ถ้าเห็นว่าสะดือยังไม่สะอาดควรเปลี่ยนสำลีก้อนใหม่ […]

การนอนของทารก เรื่องน่ารู้ ! สำหรับคุณแม่มือใหม่

การนอนทารก - momandbabyth

น่ารู้ ! เรื่อง การนอนของทารก การนอนของทารกหรือการนอนของลูกน้อยของคุณเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากหลังการคลอดลูก เพราะใน การนอนของทารก นั้นร่างกายได้มีพักผ่อนและในขณะเดียวกัน การนอนของทารก ก็ยังช่วยสร้างเครือข่ายเส้นใยประสาท ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (GROWTH HORMONE) ก็ถูกหลั่งออกมาได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ การนอนของทารก ก็ยังจะส่งผลให้ระบบสมองได้มีการซ่อมแซมตัวเองอีกด้วย ฉะนั้นแล้วการนอนของทารกจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากควรให้ทารกหรือลูกน้อยได้นอนหลับกันอย่างเต็มที่เพื่อที่ตอนตื่นขึ้นมากสมองของลูกน้อยจะพร้อมรับกับการเรียนรู้ได้อย่างดีทีเดียว แต่ทว่าทารกแต่ล่ะคนมักจะมีนิสัยที่แตกต่างกันซึ่งก็หมายความว่าการนอนก็ย่อมแตกต่างกันซึ้งอาจจะเป็นปัญหาสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายท่าน แต่วันนี้ Momandbabyth ก็มีทางออกและทางแก้ในเรื่องการนอนของทารกให้แก่คุณพ่อคุณแม่ด้วยค่ะ ลักษณะการนอนของทารก นอนกรน ขณะที่ลูกนอนหลับคุณอาจพบว่า เสียงหายใจของลูกดัง (ฟี่ๆ) เหมือนเสียงกรนของผู้ใหญ่ อันที่จริงแล้วการนอนกรนไม่ใช่ปัญหาการนอนโดยตรงของเด็ก เพียงแต่ว่าเด็กเล็กๆ เวลานอนหงายมักมีเสียงหายใจดังฟี่ๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ช่วงแรกเกิดหลอดลมที่อยู่ด้านหน้ากระดูกอ่อนที่เป็นโครงสร้างของหลอดลมยังเจริญไม่เต็มที่ในเด็กบางคนทำให้หลอดลมหล่นลงมาขัดขวางอากาศที่ถูกหายใจเข้าสู่ทางเดินหายใจ เมื่อลูกหายใจเข้า-ออกจึงเกิดเสียงดัง เด็กที่มีน้ำหนักตัวมากอาจจะมีต่อมอะดีนอยด์ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่งอยู่ในผนังทางเดินหายใจด้านหลังจมูกมีขนาดโตกว่าปกติ นอกจากนี้ในเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากอาจมีไขมันอยู่ในทางเดินหายใจด้านหลังจมูกมากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า เมื่อลูกนอนหงายต่อมอะดีนอยด์และไขมันอาจจะตกลงมากีดขวางทางเดินหายใจ สังเกตง่ายๆ ในเด็กกลุ่มนี้ หากนอนหงายเสียงกรนจะดังมากขึ้นมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่พบว่า เด็กนอนกรนจนตัวเขียว เพราะขาดออกซิเจนเนื่องจากกระดูกบริเวณหลอดลมไม่แข็งแรง ดังนั้น ตราบใดที่พัฒนาการทั่วไปเป็นปกติ ลูกไม่งอแงหรือเศร้าซึม ไม่มีอาการขาดออกซิเจน การนอนกรนถือว่าเป็นเรื่องปกติที่พบได้ เพราะหลังจาก 4-5 เดือนไปแล้ว กระดูกอ่อนบริเวณหลอดลมจะแข็งแรงขึ้นเสียงกรนก็จะหายไปลูกน้อยจึงสามารถนอนได้ตามปกติ นอนสะดุ้ง เป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับโดยอัตโนมัติ (Reflex) ของเด็กทารกทุกคน […]

เรื่องควรรู้ “ศีรษะทารก” มีอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องรู้

ศีรษะทารก - momandbabyth

เรื่องควรรู้ “ศีรษะทารก” ทารกเกือบทุกคนจะมีรูปร่างลักษณะใบหน้าค่อนข้างจะกลม คอสั้น แขน ขาสั้น ศีรษะทารกโตกว่าเมื่อเทียบกับช่วงลำตัว เมื่อโตขึ้นรูปร่างและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามพันธุกรรมของพ่อแม่ และสิ่งที่พ่อแม่มักจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ ศีรษะทารก เรื่องควรรู้ “ศีรษะทารก” ได้แก่ กะโหลกศีรษะ ประกอบด้วยกระดูกเป็นแผ่น ๆ ต่อกัน กระหม่อมบริเวณส่วนหน้าที่เปิดอยู่เรียกว่า กระหม่อมหน้าเป็นตำแหน่งที่กระดูก 4 ชิ้น มาประสานกันจะเหลือช่องตรงกลางเอาไว้และมีเยื่อบาง ๆ ปิดอยู่เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อสมอง ส่วนกระหม่อมหลังมีขนาดเล็กกว่าอยู่บริเวณท้ายทอยด้านหลังศีรษะเด็ก ลองสังเกตดูจะเห็นว่ากระหม่อมของลูกเต้นตุ๊บ ๆ ตามจังหวะชีพจรหรือถ้าคลำดูเบา ๆ จะรู้สึกนุ่ม ๆ เรียบ ๆ ก็ไม่ต้องวิตกหรือตกใจเพราะถือว่าปกติค่ะ กระหม่อมสำคัญอย่างไร กระหม่อมส่วนหน้าจะปิดเมื่ออายุประมาณ 1 ปีครึ่ง ส่วนกระหม่อมหลังปิดเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน เร็วกว่ากระหม่อมหน้าแต่หากกระหม่อมมีการปิดช้าหรือปิดเร็วก็อาจมีผลต่อตัวเด็ก เนื่องจากภายในกะโหลกศีรษะประกอบด้วยสมองถ้ากระหม่อมปิดเร็วเกินไปจะทำให้สมองเจริญเติบโตและขยายไม่เต็มที่ แต่ถ้าหากกระหม่อมปิดช้ากว่ากำหนดมักพบได้ในกรณีที่มีน้ำในสมองหรือโรคทางต่อมไร้ท่อเกิดจากการทำงานของต่อมธัยรอยด์บกพร่องแต่กำเนิดก็มีผลต่อพัฒนาการของเด็กเช่นกัน ระหว่างที่กระหม่อมศีรษะยังไม่ปิด (ก่อนขวบครึ่ง) สิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือ เรื่องอุบัติเหตุการกระทบกระเทือน ไม่ควรไปกดไปวุ่นวายทำอะไรกับกระหม่อมของลูก แต่ก็สามารถสังเกตสิ่งผิดปกติจากศีรษะลูก เช่น เวลาลูกไม่สบาย […]

อาการผิดปกติในลูกอ่อน (แรกเกิด – 3 เดือน) ที่สามารถเกิดขึ้นได้

อาการผิดปกติในลูกอ่อน - Momandbabyth

อาการผิดปกติในลูกอ่อน (แรกเกิด – 3 เดือน) ลูกวัยแรกเกิด – 3 เดือนแรก อาการหลังคลอดคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มักกังวลไปตั้งแต่เรื่องกิน นอน ขับถ่าย เรียกว่าห่วงร้อยแปดพันประการกัน ยิ่งถ้าเป็นเรื่องสุขภาพของเจ้าตัวเล็กแล้วล่ะก็เรื่องใหญ่เชียว Momandbabyth จึงถือโอกาสพาคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ไปทำความรู้จักโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับลูกเล็กวัยแรกเกิดถึง 3 เดือนค่ะ อาการผิดปกติในลูกอ่อน Head to Shoulder เริ่มจากส่วนบนสุดของร่างกายไล่ลงไปถึงหน้าอกของลูก ช่วงแรกนี้มีระบบการทำงานของร่างกายที่สำคัญ คือ ระบบการหายใจและระบบการทำงานของหัวใจ ซึ่งโรคที่มักพบได้บ่อยมีดังนี้ อาการผิดปกติในลูกอ่อน ระบบหายใจ * หายใจเสียงดังเป็นช่วงๆ When : อาทิตย์แรกและอาทิตย์ที่ 2 หลังคลอด What : ลูกอาจจะจาม หายใจเสียงดัง หรือหายฮึดฮัดเป็นช่วง ๆ Why : ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อยจะไม่มีอาการผิดปกติอะไร อาจเป็นเพราะลูกยังเล็กจึงยังหายใจทางปากไม่เป็น เลยหายใจทางจมูกได้ทางเดียว เมื่อจมูกมีขี้มูกอุดตันตรงบริเวณโพรงจมูก ก็จะทำให้เกิดเสียงดัง แต่ถ้าลูกหายใจเสียงดังมาก ๆ เหมือนนอนกรน ต้องมาพบคุณหมอ เพราะลูกอาจจะมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อหลอดลมอ่อนตัว ทำให้เวลาหายใจเข้าหายใจเข้า-ออก […]