การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก

การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก หลังคลอด ในการประเมินสุขภาพเด็กนอกจากจะตรวจหาความผิดปกติหรือความบกพร่องทั้งทางร่างกาย พฤติกรรม และความรู้สึกนึกคิดแล้วแพทย์จำเป็นต้องประมวลข้อมูลเพื่อจะได้ทราบว่าเด็กคนนั้นเจริญเติบโตและแสดงพฤติกรรมและความสามารถสมกับวัยหรือไม่เพื่อจะได้ให้การวินิจฉัยและการแก้ไขปัญหาแต่เนิ่น ๆ ในรายที่เติบโตช้าหรือมีพฤติกรรมพัฒนาการช้า ส่วนในกรณีปกติหรือเร็ว แพทย์สามารถแจ้งให้บิดามารดาของเด็กทราบและแนะนำวิธีปฏิบัติ ที่เหมาะสมต่อไปทั้งในด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาที่พบ บ่อยในแต่ละวัน การประเมิน หมายถึง การวัดและนำผลของการวัดมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานแล้ว จึงตัดสินแปลผลได้ว่าสิ่งที่ถูกประเมินนั้นมีคุณภาพเป็นอย่างไร เช่น ถ้านักศึกษาทราบว่าเด็กชาย คนหนึ่งหนัก 10 กก. ก็ยังไม่สามารถประเมินการเติบโตและพัฒนาการเด็กของเด็กคนนี้ได้ถ้าไม่รู้ว่าเด็กอายุเท่าไร หรือสูงเท่าไร เพราะวัด (ชั่ง) น้ำหนักเด็กได้แต่ไม่ทราบจะไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานอะไร แต่ถ้าทราบว่าเด็กคนนั้นมีอายุ 12 เดือน จะสามารถประเมินได้ว่าเมื่อเทียบกับ มาตรฐานน้ำหนักตามวัย ซึ่งเท่ากับ 9 กก. แล้วเด็กคนนี้มีน้ำหนัก ตัวสูงกว่าเฉลี่ยเล็กน้อยถือเป็นปกติ แต่ถ้าเด็กคนนั้นมีอายุ 3 ปี เทียบกับมาตรฐานน้ำหนักตามอายุแล้ว จะพบว่าเด็กมีสภาพทุพโภชนาการ ระดับที่ 2 เป็นต้น 1. การประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก การเติบโต (growth) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงด้านขนาดของร่างกาย และอวัยวะซึ่งเกิดจากการ เพิ่มจำนวนเซลล์ การเพิ่มขนาดของเซลล์ และ matrix จึงสามารถประเมินการเติบโตได้โดยการชั่งน้ำหนัก วัดความยาวหรือส่วนสูง […]